ลูกค้าที่ยังไม่กล้าตัดสินใจใช้บริการ เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่น:

  1. มีลูกค้าน้อย – ลูกค้าหลายคนกังวลว่าโปรแกรมจะไม่คุ้มค่าหากธุรกิจยังมีลูกค้าน้อย
  2. พนักงานไม่ยอมใช้ – เจ้าของร้านบางคนเคยลองให้พนักงานใช้โปรแกรมแล้วพนักงานไม่ยอมทำตาม และพนักงานมองว่าจะเป็นการเพิ่มภาระงาน
  3. เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ – ลูกค้าคิดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานโปรแกรม
  4. กลัวจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม – หลายคนไม่อยากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในธุรกิจ
  5. กังวลเกี่ยวกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น – กลัวว่าโปรแกรมอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา
  6. กลัวต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น – บางคนกลัวว่าโปรแกรมจะทำให้ข้อมูลถูกเปิดเผยและอาจทำให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม
  7. กลัวข้อมูลรั่วไหล – กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความเสี่ยงจากการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
  8. ไม่มั่นใจในประโยชน์ที่ได้รับ – บางคนยังไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนจากการใช้โปรแกรม หรือเคยลองใช้แล้วแต่พบปัญหาหรือไม่เข้าใจวิธีการใช้งานจนทำให้ยอมล้มเลิก
  9. กังวลว่าโปรแกรมจะเพิ่มภาระการเรียนรู้ – บางคนกลัวว่าการใช้งานโปรแกรมจะทำให้ต้องเรียนรู้วิธีใหม่ เป็นการเพิ่มภาระงาน
  10. กลัวการทำงานซ้ำซ้อน – บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ใช้โปรแกรมออกใบเสร็จแล้ว จะต้องมาเขียนใบเสร็จหรือสรุปรายงานด้วยมืออีกครั้ง

ข้อกังวลเหล่านี้เกิดจากการเข้าใจผิดหรือมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจใช้โปรแกรม  ข้อกังวลเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญในการช่วยเหลือหรือช่วยแก้ไขปัญหา ที่ทำให้ธุรกิจตรอ.เติบโตได้ช้า  ดังนั้น การทำความเข้าใจจะคลายความกังวลเหล่านี้ได้ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้เร็วขึ้น

3 คำที่ลูกค้าชอบใช้เนื่องจากไม่มั่นใจในตัวสินค้า

  • สนใจโปรแกรม โปรแกรมทำอะไรได้บ้าง
  • สินค้าราคาเท่าไหร่
  • ขอคิดดูก่อน อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม

ปัญหาที่ลูกค้าเจอ ถ้าเคยใช้สินค้านี้แล้ว ปัญหาที่เจอ คืออะไร?

ตอนที่ยังไม่ได้ใช้เจอปัญหาอะไร?  ปัญหาที่รอการแก้ไขอยู่ คืออะไร?

ประสบการณ์การที่เคยใช้  เคยใช้ยี่ห้ออะไรมาบ้าง เคยใช้วิธีอะไรบ้างในการแก้ปัญหา? ใช้แล้วติดขัดเรื่องอะไรบ้าง?  เมื่อก่อนไม่ใช้คอมพิวเตอร์  ใช้เป็นแบบไหนอยู่?  ปัญหาในการใช้แบบเขียนมือ (Manual) มีอะไรบ้าง เช่น ช้า เกิดข้อผิดพลาด ลายมืออ่านไม่ออก ค้นหาเอกสารยาก เอกสารสูญหาย ฯ

ประสบการณ์เดิมในการทำงานเจอปัญหาอะไร?  เช่น ปัญหาจากการใช้สินค้าเดิม หรือวิธีการเดิม คืออะไร? 

คุณคาดหวังอะไรกับการซื้อครั้งนี้ครับ? 

คาดหวังว่าจะให้แก้ปัญหาอะไรได้บ้าง? เช่น สร้างความน่าเชื่อถือ   ลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร  ต้องการทำงานสะดวกขึ้นในกี่เปอร์เซ็น ฯ

การใช้คำถามเหล่านี้ จะทำให้รู้ปัญหาที่ลูกค้าเจอ รู้ถึงความคาดหวัง 

รู้ประสบการณ์เดิมที่ลูกค้าใช้ รู้ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร และใช้คำถามนี้กับคนที่มีอำนาจตัดสินใจ 

  • 5 เทคนิค พัฒนาความมั่นใจให้กลายเป็นนักปิดการขาย

    1. การขายคือขั้นตอนที่เรียนรู้ได้
      การขายไม่ใช่เรื่องยาก หากเราทำตามขั้นตอนทีละสเต็ป เรียนรู้วิธีการตอบคำถามลูกค้าและรับมือกับการปฏิเสธ การแก้ปัญหาให้ลูกค้าเป็นกุญแจสำคัญ อย่าพยายามชนะด้วยคำตอบ แต่ชนะด้วยการช่วยลูกค้าแก้ปัญหา
    2. เราทุกคนเป็นนักขายอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน
      ไม่ว่าคุณจะชวนเพื่อนไปกินข้าวหรือสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง นั่นคือการขาย เพราะการขายคือการสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่น
    3. ฟังให้เก่ง
      นักขายที่ดีต้องฟังให้มาก พูดให้น้อย เหมือนหมอที่ซักถามอาการแล้วให้คำแนะนำ การฟังลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาของพวกเขา
    4. แยกนักขายจากนักปิดการขาย
      นักขายที่เก่งไม่พยายามโน้มน้าวลูกค้าจนเกินไป แต่จะให้ทางเลือกเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจเอง การปิดการขายคือการหาวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้า โดยไม่ให้รู้สึกเหมือนกำลังถูกขาย

    เป็นที่ปรึกษาเหมือนหมอ
    การขายคือการให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้า ฟังลูกค้าแล้วบอกว่าสินค้าไหนเหมาะสมกับเขา และจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุด 

 ลูกค้าจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุลในการตัดสินใจซื้อ

ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจซื้อสินค้ามีหลายเหตุผล ดังนี้:

  1. ไม่มีเหตุผลที่จะซื้อ
    ลูกค้าไม่เห็นความจำเป็นในการซื้อสินค้าตอนนี้ หน้าที่ของคุณคือสร้างความจำเป็นให้ลูกค้า เช่น หากอากาศมีฝุ่นเยอะ คุณสามารถแนะนำเครื่องฟอกอากาศเพื่อช่วยให้ชีวิตเขาดีขึ้น
  2. ไม่ต้องการสินค้าตอนนี้
    ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ต้องการสินค้าทันที คุณต้องสร้างความต้องการให้เกิดขึ้น เช่น บอกว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดและห้ามพลาด ถ้าไม่ซื้อวันนี้อาจเสียโอกาส
  3. ไม่มีเงิน
    ลูกค้ารู้สึกว่ายังไม่จำเป็นต้องซื้อหรือรู้สึกว่าสินค้าไม่คุ้มราคา คุณต้องสร้างคุณค่าของสินค้าให้ชัดเจน เช่น บอกว่า "ของมันต้องมี" หรือเสนอผ่อนชำระเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าจ่ายได้
  4. ไม่เร่งด่วน
    ลูกค้ารู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าทันที คุณต้องสร้างความเร่งด่วน เช่น เสนอโปรโมชั่นพิเศษ หรือบอกว่า "ต้องรีบซื้อเดี๋ยวนี้"
  5. ไม่เชื่อถือ
    ลูกค้าอาจไม่เชื่อมั่นในสินค้าว่ามีคุณภาพจริง คุณต้องสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าผ่านรีวิวจากผู้ใช้จริง การให้ทดลองสินค้า หรือการบอกปากต่อปากว่าเป็นสินค้านี้ดีจริงๆ

การตัดสินใจซื้อมักขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละคน แบ่งเป็น 5 แบบดังนี้:

  1. ตรงไปตรงมา
    ลูกค้าประเภทนี้ต้องการเห็นสิ่งที่ได้ประโยชน์จากการซื้ออย่างชัดเจน นักขายควรนำเสนอสินค้าที่ให้ผลลัพธ์ที่จับต้องได้และเห็นภาพชัดเจน เช่น ผลลัพธ์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้สินค้า
  2. ราคาและภาพลักษณ์
    ลูกค้าที่สนใจในเรื่องราคาและภาพลักษณ์มักมองหาสินค้าที่ช่วยเสริมสร้างความโดดด่นในสายตาผู้อื่น นักขายควรเน้นการเสนอสินค้าที่ให้ความรู้สึกพิเศษและมีความคุ้มค่า เช่น โปรโมชั่นพิเศษที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกต้องการซื้อก่อนใคร เช่น ไอโฟนรุ่นใหม่นี้มีการจัดโปรโมชั่น
  3. วิตกจริต
    ลูกค้าประเภทนี้มักจะกังวลเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อ ดังนั้นนักขายต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน ชัดเจน และอธิบายอย่างละเอียดถึงประโยชน์และคุณสมบัติของสินค้าที่จะช่วยแก้ปัญหาของลูกค้า และควรหลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือแย้งความรู้สึกของลูกค้า
  4. โมหะจริต
    ลูกค้าประเภทนี้มักไม่มั่นใจในตัวเองและใส่ใจความต้องการของคนอื่นมากกว่าตัวเอง นักขายควรเน้นการขายสินค้าที่สามารถช่วยคนอื่นได้ เช่น การเสนอผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลคนในครอบครัว เช่น ประกันชีวิตให้กับลูกหรือพ่อแม่
  5. ชอบการเสี่ยง
    ลูกค้าประเภทนี้มักชอบการเสี่ยงและต้องการอะไรใหม่ๆ ท้าทาย นักขายควรนำเสนอสินค้าที่มีความพิเศษหรือสินค้ารุ่นใหม่ที่มีความน่าสนใจ
    1. ตามหา "ทำไม" (Why)
      นักขายควรถามลูกค้าถึงเหตุผลในการตัดสินใจซื้อ เช่น ถ้าลูกค้าจะซื้อดอกสว่าน ควรถามว่า "ทำไมถึงอยากซื้อดอกสว่าน?" ลูกค้าอาจตอบว่า "อยากเจาะรูผนังสวยๆ" นักขายควรถามต่อไปว่า "ทำไมต้องการเจาะรูสวยๆ?" จนลูกค้าตอบว่า "อยากติดชั้นวางผนังเพื่อเก็บของให้เป็นระเบียบ" เมื่อรู้เหตุผลชัดเจนแล้ว นักขายก็สามารถนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์ได้ทันที เช่น "ดอกสว่านนี้เหมาะกับคุณ เพราะ..."
    2. นำเสนอสินค้าที่แก้ปัญหาลูกค้าได้ตรงจุด
      ในการขายแบบ Cold Call นักขายควรเตรียมพร้อมและประเมินพฤติกรรมลูกค้าให้ดี เช่น ลูกค้าอาจจะชอบส่วนลดพิเศษหรือต้องการสินค้าที่ตรงกับความต้องการ โดยการถามคำถามที่ช่วยให้รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรจริงๆ
    3. การขายออนไลน์
      หากลูกค้าทักมาที่ไลน์หรือ Messenger อย่าเพิ่งรีบขายทันที ควรถามความต้องการของเขาก่อนว่า "ทำไมถึงอยากซื้อสินค้าของเรา?" และเมื่อเขารู้ราคาแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยให้เขานิ่งเงียบ ให้หาวิธีพูดให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าของคุณจำเป็นสำหรับเขา พร้อมกับเสนอโปรโมชั่นพิเศษถ้าซื้อในตอนนี้

     การ Cold Call
    การ Cold Call คือการหาข้อมูลพื้นฐานก่อนขาย โดยใช้เสียงที่เป็นมิตรและเน้นประโยชน์ของลูกค้า อย่าพยายามขายยัดเยียด แต่ควรเริ่มพูดคุยเพื่อทำความรู้จัก และอาจจะถามลูกค้าว่ามีปัญหาที่เราสามารถช่วยแก้ไขได้หรือไม่ เมื่อรู้ถึงปัญหาของลูกค้าแล้ว ค่อยนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม โดยทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกว่ากำลังถูกขายของ แต่ท้ายที่สุดต้องปิดการขายได้ทุกช่องทาง

  6. เคล็ดลับออนไลน์
    การทำโพสต์ที่ดึงดูดลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ต้องทำให้ลูกค้าหยุดและสนใจโพสต์ของเรา เช่น ใช้คำพูดหรือแคปชั่นที่น่าสนใจ รูปภาพและวิดีโอที่ดึงดูดความสนใจ และที่สำคัญคือต้องมีรีวิวจากลูกค้ามาช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ใส่รีวิวใต้โพสต์หรือในส่วนที่ลูกค้าสามารถเห็นได้ง่าย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณมีคุณภาพและคุ้มค่ากับราคา
  7. การสร้างลูกค้าซ้ำ
    เมื่อขายได้แล้ว ต้องทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง โดยการให้บริการที่เกินความคาดหวังของลูกค้า ให้ความใส่ใจในรายละเอียดและมีช่องทางติดต่อส่วนตัว เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของคุณใส่ใจและคอยให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ให้เขาเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้ออีกครั้ง
  8. การวัดผลและปรับปรุง
    ต้องติดตามและประเมินผลว่าการดูแลลูกค้าแบบนี้ได้ผลหรือไม่ หากได้ผลก็ควรทำต่อไป แต่ถ้าไม่เวิร์คก็ต้องหยุด และใส่ใจ feedback ของลูกค้าเพื่อนำมาปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น
  9. บัตรสมาชิก VIP
    การให้ลูกค้าเป็นสมาชิก VIP จะทำให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์และสร้างความภักดีในตัวสินค้า เมื่อเขารู้สึกว่าเป็นสมาชิกพิเศษ ก็จะง่ายกว่าการหาลูกค้าใหม่ โดยการให้สิทธิพิเศษหรือโปรโมชันที่ทำให้เขารู้สึกคุ้มค่า

สรุป   การขายที่ดีคือการฟังปัญหาของลูกค้าให้มาก แล้วนำเสนอสินค้าที่ช่วยแก้ปัญหานั้นอย่างตรงจุด นอกจากนี้คุณต้องเข้าใจว่าลูกค้ามีแนวคิดหรือพฤติกรรม(จริต)แบบไหน เพื่อเลือกใช้วิธีพูดและการขายที่ตรงใจเขา เมื่อคุณทำได้ตามนี้ การปิดการขายก็จะไม่ไกลเกินเอื้อม อย่าปิดการขายในแบบที่คุณชอบ แต่ควรปิดการขายในแบบที่ลูกค้าต้องการ โดยการวิเคราะห์จริตของลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อให้การปิดการขายตรงกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง

หลายคนบอกว่า เป็นคนพูดไม่เก่ง ขายไม่เป็น และขาดความมั่นใจเมื่อเจอลูกค้า เพราะรู้สึกตื่นเต้นหรือกลัว ไม่ชอบงานขาย ฉันเกลียดการขาย ไม่ชอบไปตื้อ ไม่ชอบง้อคน ความจริงคือเราทุกคนขายตัวเองในทุกๆวัน เช่น การจีบสาว หรือชวนเพื่อนไปกินข้าว ไปเที่ยว ซึ่งก็เป็นการขายในรูปแบบหนึ่ง การขายคือการโน้มน้าวให้คนอื่นเห็นคล้อยตาม จริงๆ แล้วคุณไม่ได้กลัวการขาย แต่คุณกลัวการถูกปฏิเสธ เพราะเมื่อโดนปฏิเสธจะทำให้คุณรู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง

การตอบลูกค้าเมื่อเกิดข้อโต้แย้ง: การสร้างความเข้าใจและความประทับใจ

เมื่อเราต้องตอบคำถามหรือแก้ข้อโต้แย้งจากลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ลูกค้ายังไม่ต้องการซื้อสินค้า สิ่งสำคัญคือการตอบอย่างมืออาชีพ ตอบด้วยคำพูดที่แสดงถึงความเข้าใจ โดยหลีกเลี่ยงคำพูดหรือท่าทีที่อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ดี เช่น การพูดในลักษณะประชดประชันหรือแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น

  • หลีกเลี่ยงคำพูดว่า "พูดแบบนี้แปลว่าจะซื้อเลยใช่ไหม" “จะซื้อเลยใช่ไหม” หรือ “แล้วจะซื้อเมื่อไหร่” เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหา ยังทำให้ลูกค้ารู้สึกถูกกดดันเหมือนไม่ให้เกียรติ

แนวทางการตอบลูกค้า

    1. แสดงความเข้าใจและให้เกียรติลูกค้า
      • หากลูกค้าตอบในลักษณะ "เอาไว้ก่อน" เราอาจตอบด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลและแสดงถึงความเข้าใจ เช่น  “เข้าใจเลยครับ/ค่ะ บางครั้งการตัดสินใจก็ต้องใช้เวลา หากมีคำถามเพิ่มเติมหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม เรายินดีช่วยเหลือครับ/ค่ะ”
      • หากลูกค้าตอบ เช่น “ยังไม่พร้อม” หรือ “ต้องปรึกษาทีมก่อน” ให้ใช้โอกาสนี้แสดงความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความต้องการของลูกค้า
  • การตอบที่แสดงถึงความใส่ใจโดยไม่กดดันลูกค้า และเปิดโอกาสให้พวกเขารู้สึกสบายใจในการกลับมาสอบถามในอนาคต
  1. ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
    • เมื่อลูกค้ามีข้อโต้แย้งหรือยังไม่แน่ใจ เราควรตอบด้วยข้อเท็จจริง พร้อมเอกสารหรือหลักฐานที่สนับสนุน เช่น
      "จากข้อมูลที่เรามีพบว่าผลิตภัณฑ์นี้ช่วยลดต้นทุนได้จริง เช่น กรณีของลูกค้า X ที่สามารถลดต้นทุนได้ถึง 20% ภายใน 3 เดือน หากสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานนี้ครับ/ค่ะ"
  2. ขายด้วยบทบาทของที่ปรึกษา
    • ปัจจุบันลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายจาก Google หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ดังนั้นบทบาทของผู้ขายจึงเปลี่ยนไปสู่การเป็น “ที่ปรึกษา”
    • เราต้องสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการให้คำแนะนำเชิงลึกที่ลูกค้าอาจหาไม่ได้จากแหล่งอื่น เช่น
      "สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตัวนี้คือความสามารถในการปรับให้เข้ากับระบบเดิมของคุณได้ง่ายขึ้น โดยเราเคยทำงานร่วมกับบริษัทที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกัน และพวกเขาให้ผลตอบรับที่ดีมากครับ/ค่ะ"
  3. ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงข้อโต้แย้งตั้งแต่เริ่มต้น
    • การเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นกุญแจสำคัญ ศึกษาความต้องการของลูกค้าและปัญหาที่เขาเผชิญ เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้น
    • ตัวอย่าง: หากลูกค้าอาจกังวลเรื่องราคา ให้ชี้แจงถึงความคุ้มค่าและผลตอบแทนที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มนำเสนอ
  4. ตอบด้วยเหตุผลและน้ำหนัก
    • หากข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เราต้องตอบด้วยข้อมูลที่ชัดเจนและมีหลักฐานประกอบ เช่น
      "จากข้อมูลของเรา การลงทุนในระบบนี้มี ROI ที่สูงถึง 30% ภายในปีแรก ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับตัวเลือกอื่นในตลาดครับ/ค่ะ"
    • การนำเสนอตัวอย่างการใช้งานจริง เอกสารอ้างอิง หรือผลลัพธ์จากลูกค้ารายอื่น สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ
  5. สร้างความศรัทธาในตัวผู้ขาย
    • ความน่าเชื่อถือมาจากการแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าเราจริงใจและมีความรู้ในสิ่งที่นำเสนอ การให้ข้อมูลที่ถูกต้องพร้อมเอกสารยืนยันจะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจในตัวเรา

โลกของการขายวันนี้เป็น: “การขายเชิงที่ปรึกษา”
การขายไม่ได้เน้นแค่การเสนอสินค้าแต่เน้นที่การช่วยลูกค้าแก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจของเขา การตอบข้อโต้แย้งจึงควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นมืออาชีพและการสร้างความเชื่อมั่นในระยะยาว

สรุป:
การแก้ข้อโต้แย้งที่ดีเริ่มต้นจากการป้องกัน แต่หากข้อโต้แย้งเกิดขึ้น ควรตอบด้วยข้อมูลที่ชัดเจน มีเหตุผล และน้ำหนัก พร้อมหลักฐานสนับสนุน การให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของลูกค้าจะช่วยสร้างความประทับใจและความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวสิ่งสำคัญคือการรักษาความสัมพันธ์และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า แม้ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจซื้อในวันนี้ แต่การสร้างความประทับใจและให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นมิตร จะทำให้พวกเขาเห็นคุณค่าในตัวคุณและกลับมาหาคุณในอนาคต

ทคนิค SPIN: เคล็ดลับการเป็น Top Sales(คลิป)

พนักงานขายหลายคนมักพบปัญหาเมื่อถึงเวลาต้องเข้าพบลูกค้าแล้วไม่มั่นใจว่าจะพูดอะไร หรือจะเริ่มต้นการสนทนาอย่างไรกับลูกค้า หนึ่งในเทคนิคที่ได้รับการยอมรับและสามารถยกระดับพนักงานขายให้โดดเด่นคือเทคนิค SPIN เซึ่งเป็นวิธีการตั้งคำถามเพื่อเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง ที่มาของเทคนิค SPIN นี้พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยของคุณ นิว เรคแฮม ที่ใช้เวลากว่า 12 ปีในการวิเคราะห์การสนทนาของพนักงานขายที่ประสบความสำเร็จ พบว่าสิ่งที่ทำให้ Top Sales เก่งกว่าเซลล์ทั่วไปคือ “การตั้งคำถามที่ดี” ซึ่งนำไปสู่การปิดการขายได้ง่ายขึ้น แทนที่จะเน้นการพูดเกี่ยวกับสินค้าของตัวเอง การตั้งคำถามจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วมและอยู่ในบทสนทนาได้นานขึ้น

ข้อดีของการตั้งคำถามในกระบวนการขาย

  1. ดึงความสนใจของลูกค้า: เมื่อเราถามคำถาม ลูกค้าจะต้องใช้สมาธิตอบคำถามนั้น ทำให้ไม่ไปโฟกัสที่เรื่องอื่น
  2. ช่วยให้ลูกค้ามองเห็นวิธีแก้ปัญหา: ลูกค้ามักโฟกัสกับปัญหาของตัวเอง แต่คำถามที่เหมาะสม สามารถทำให้ลูกค้าเริ่มมองเห็นทางออกที่เป็นไปได้

ขั้นตอนการตั้งคำถามเทคนิค SPIN มี 4 ขั้นตอน ต้องทำความเข้าใจและฝึกฝน ได้แก่:

ขั้นตอนที่ 1 Situation Question (คำถามเกี่ยวกับสถานการณ์)

“Situation Question” มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจสถานการณ์ของลูกค้าในปัจจุบัน การถามคำถามในขั้นตอนนี้จะช่วยให้เรารู้จักบริบทของลูกค้า เช่น ธุรกิจของลูกค้า กระบวนการทำงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พวกเขาอาจเผชิญ

จุดประสงค์: เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบันของลูกค้า เช่น ธุรกิจที่ลูกค้าทำอยู่ คู่แข่งในอุตสาหกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนโยบายภาครัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อลูกค้า
ตัวอย่างคำถาม:

  • “ไม่ทราบว่าเครื่องจักรที่ใช้งานอยู่มีอายุการใช้งานมากี่ปีแล้วครับ?”
  • “ในปัจจุบันสายการผลิตของคุณสามารถผลิตได้กี่ชิ้นต่อวัน?”
  • “ช่วงนี้นโยบายของรัฐบาลมีผลกระทบอะไรกับธุรกิจของคุณบ้างไหมครับ?”
  • “ลูกค้าเล่าให้ฟังได้ไหมครับว่า กระบวนการผลิตในปัจจุบันทำงานอย่างไร?”
  • “ปัจจุบันลูกค้าใช้ระบบแบบไหนในการติดตามคำสั่งซื้อจากลูกค้าครับ?”
  • “ตอนนี้มีเครื่องจักรในสายการผลิตมีอยู่กี่เครื่อง และอายุการใช้งานของแต่ละเครื่องเป็นอย่างไรบ้างครับ?”
  • “ปกติแล้ว ทีมงานต้องใช้เวลากี่วันในการจัดทำรายงานประจำเดือนครับ?”
  1. ประโยชน์: การถามคำถามลักษณะนี้ทำให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของลูกค้า ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่ และนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปของ SPIN ได้

วัตถุประสงค์ของ Situation Question

  • เก็บข้อมูลพื้นฐาน: เข้าใจภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบันของลูกค้า
  • มองหาสัญญาณของปัญหา: ระบุจุดที่อาจกลายเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข
  • เตรียมพร้อมเข้าสู่การวิเคราะห์ปัญหา: ปูทางสู่การใช้ Problem Question ในลำดับถัดไป

เทคนิคการตั้งคำถามใน Situation Question

  1. ใช้คำถามปลายเปิด: ตั้งคำถามที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าพูดถึงสถานการณ์ของตนเองโดยละเอียด เช่น “ช่วยอธิบายให้ฟังได้ไหมครับว่า…?”
  2. ถามให้ลูกค้าเล่าเรื่องราว: แทนที่จะถามเฉพาะข้อมูลเฉพาะเจาะจง ลองถามในลักษณะที่ลูกค้าต้องเล่าถึงกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
  3. ฟังอย่างตั้งใจ: ขณะฟังลูกค้า ควรสังเกตว่ามีจุดไหนที่ดูเหมือนเป็นปัญหาหรือจุดที่เราสามารถช่วยได้ เพื่อใช้ในขั้นตอนถัดไป

จุดเด่นของ Situation Question

  • สร้างความเชื่อมั่น: การถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของลูกค้า แสดงให้เห็นว่าเราสนใจในธุรกิจและปัญหาของเขาจริงๆ
  • เปิดโอกาสให้ลูกค้าแชร์ปัญหา: เมื่อเราถามเกี่ยวกับสถานการณ์โดยรวม ลูกค้ามักจะเผยข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญออกมาโดยไม่รู้ตัว
  • ปูทางไปสู่ขั้นตอน Problem Question: เมื่อได้รับข้อมูลเพียงพอจากลูกค้าแล้ว เราจะมองเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ ซึ่งสามารถใช้เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปได้

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย

  • ถามมากเกินไปโดยไม่วิเคราะห์: ถามข้อมูลมากเกินไปโดยไม่วิเคราะห์ว่าข้อมูลเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาของลูกค้าหรือไม่
  • ถามในเชิงสอบสวน: การถามคำถามที่เหมือนการซักถามอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกอึดอัดและไม่เปิดเผยข้อมูล
  • ละเลยข้อมูลสำคัญ: หากไม่ได้ตั้งใจฟังลูกค้า อาจพลาดจุดสำคัญที่เป็นเบาะแสของปัญหาได้

 Situation Question เป็นขั้นตอนที่มีเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นบริบทของธุรกิจและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คำถามที่ดีจะเป็นคำถามปลายเปิดที่ช่วยให้ลูกค้าเล่าเรื่องราวได้อย่างเต็มที่ การฟังอย่างตั้งใจจะช่วยให้เรามองเห็นโอกาสที่จะเชื่อมโยงปัญหาของลูกค้าเข้ากับโซลูชันที่เราสามารถนำเสนอได้ การเก็บข้อมูลจากขั้นตอนนี้จะปูทางไปสู่ขั้นตอน Problem Question ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการปิดการขายในอนาคต

ขั้นตอนที่ 2: Problem Question (เกี่ยวกับปัญหาของลูกค้า)

ความสำคัญของ “Problem Question” หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญ โดยคำถามในขั้นตอนนี้จะต้องเจาะลึกไปที่ปัญหาของลูกค้าและเชื่อมโยงกับสินค้าของเราให้ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณขายเครื่องจักรมูลค่า 5 ล้านบาท คุณอาจถามลูกค้าเกี่ยวกับเครื่องจักรที่พวกเขาใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

จุดประสงค์: เพื่อชี้ให้ลูกค้าเห็นถึงผลกระทบของปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข

ตัวอย่างคำถาม Problem Question

  • “เครื่องจักรที่ใช้อยู่มีความถี่ในการเสียบ่อยแค่ไหนครับ?”
  • “เครื่องจักรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีนี้ มีความเสี่ยงต่อการเสียหายมากขึ้นไหมครับ?”
  • “ถ้าเครื่องจักรเสีย จะใช้เวลากี่วันหรือกี่ชั่วโมงในการซ่อมแซมครับ?”
  • “ถ้าปล่อยให้เครื่องจักรเก่าทำงานต่อไป อาจทำให้ต้นทุนการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นใช่ไหมครับ?”
  • “หากกำลังการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า จะส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจของคุณครับ?”

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย เซลล์หลายคนมักจะข้ามขั้นตอนนี้ไปสู่การปิดการขายทันที เช่น การบอกคุณสมบัติของเครื่องจักรใหม่ว่ามีประสิทธิภาพมากขึ้น 2 เท่า หรือรับประกัน 2 ปี โดยไม่ได้ขยายปัญหาของลูกค้าให้ชัดเจนก่อน ผลที่ได้คือ ลูกค้ามักจะปฏิเสธการซื้อเพราะยังไม่เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน เช่น อาจพูดว่า “ตอนนี้เครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ก็ยังพอใช้ได้” หรือ “ขอคิดดูก่อนนะครับ”  “ยังมีเงิน” “ยังไม่พร้อม”  “เดี๋ยวค่อยมาว่ากัน”  ซึ่งลูกค้าจะมีข้อปฏิเสธมากมาย เพราะว่าเรายังไม่ได้ทำ ขั้นตอนที่ 3 ดังนั้น การข้ามขั้นตอนนี้ทำให้ลูกค้ายังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริง ส่งผลให้การปิดการขายยากขึ้น

ขั้นตอนที่ 3: Implication Question(คำถามเกี่ยวกับผลกระทบ)

คือ “Implication Question” หรือการตั้งคำถามเพื่อขยายผลกระทบจากปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญ คำถามในขั้นตอนนี้จะกระตุ้นให้ลูกค้าตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา หากพวกเขาไม่ดำเนินการแก้ไขในทันที วิธีนี้จะทำให้ลูกค้าเริ่มเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหามากขึ้น

ประโยชน์: การถามเช่นนี้กระตุ้นให้ลูกค้าเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหา โดยเน้นไปที่ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ลงมือทำอะไร

ตัวอย่างคำถาม Implication Question

  • “ถ้าเครื่องจักรหยุดทำงาน 2 วัน จะส่งผลกระทบกับการผลิตอย่างไรครับ?”
  • “หากมีออร์เดอร์เข้ามาในช่วงที่เครื่องจักรหยุดทำงาน จะเกิดความล่าช้าหรือสูญเสียรายได้ประมาณเท่าไหร่ครับ?”
  • “ถ้าคนดูแลเครื่องจักรขาดงานกะทันหัน จะมีผลกระทบต่อการควบคุมการผลิตยังไงบ้างครับ?”
  • “ค่าแรงพิเศษที่ต้องจ่ายเมื่อมีปัญหาแบบนี้โดยเฉลี่ยแล้วเป็นเท่าไหร่ครับ?”

เป้าหมายของคำถาม  Implication คือการขยายขอบเขตของปัญหาให้ใหญ่ขึ้น จากที่ลูกค้าอาจคิดว่าปัญหานั้น “เล็กน้อย” ให้เขาเห็นว่าผลกระทบที่แท้จริงมีมากกว่าที่คิด ตัวอย่างเช่น หากเครื่องจักรหยุดทำงาน 2 วัน ลูกค้าอาจเสียโอกาสในการผลิตสินค้า ค่าจ้างแรงงานพิเศษเพิ่มขึ้น หรือสูญเสียความไว้วางใจจากลูกค้า ปัญหาเหล่านี้สามารถแปลงเป็นตัวเลขมูลค่าความเสียหายที่ชัดเจนได้ เช่น “ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ออกมาล่าช้า 1 ชั่วโมง จะสูญเสียรายได้เท่าไหร่ครับ?” เมื่อลูกค้าเห็นภาพความเสียหาย เขาจะรู้สึกกังวลและต้องการหาทางแก้ไขทันที

ข้อดีของ Implication Question

  • ช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา
  • กระตุ้นความต้องการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา
  • เปิดโอกาสให้ลูกค้าเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนกับการซื้อสินค้าของเรา

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย เซลล์บางคนอาจถาม Implication Question แบบผิวเผินเกินไป เช่น ถามเพียงว่า “ถ้าเครื่องจักรเสียจะทำยังไงครับ?” ซึ่งไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นความกังวลของลูกค้า คำถามที่ดีต้องกระตุ้นให้ลูกค้าคิดถึง “ความสูญเสีย” หรือ “ความเสียหาย”  ที่จะเกิดขึ้น เช่น การสูญเสียรายได้ ค่าจ้างพิเศษที่ต้องจ่ายเพิ่ม หรือความล่าช้าในการผลิตที่กระทบกับความน่าเชื่อถือของบริษัท

เทคนิค P และ I มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่จะตามมา หากไม่ได้รับการแก้ไข การข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไปสู่การปิดการขายทันทีจะทำให้ลูกค้าไม่เห็นถึงความเร่งด่วนของการซื้อสินค้า การตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น โดยการช่วยลูกค้ามองเห็นปัญหาและผลกระทบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

คือ “Need/Payoff Question” ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ หากปัญหาที่เขาเผชิญอยู่ได้รับการแก้ไข จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการให้ลูกค้าเห็นคุณค่าและความสำคัญของการแก้ปัญหา โดยที่ลูกค้าเองจะเป็นผู้แสดงออกถึงผลลัพธ์ที่ต้องการผ่านคำถามที่เราตั้งขึ้น วิธีนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดแรงจูงใจที่จะหาทางออกและพร้อมที่จะพิจารณาการซื้อสินค้าโดยอัตโนมัติ

จุดประสงค์: กระตุ้นให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของการแก้ไขปัญหา โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
ตัวอย่างคำถาม:

ตัวอย่างคำถาม Need/Payoff Question (แนวทางแก้ไขและผลประโยชน์) 

  • “ถ้ามีวิธีแก้ปัญหาที่ช่วยลดจำนวนพนักงานในสายการผลิตลงได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นยังไงบ้างครับ?”
  • “ถ้ามีโซลูชันที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตได้ 3 เท่าจากเดิม ลูกค้าคิดว่ามันจะส่งผลต่อยอดขายของบริษัทอย่างไรครับ?”
  • “ถ้ามีระบบที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการหยุดทำงานของเครื่องจักรได้ ลูกค้าจะรู้สึกว่าสิ่งนี้ส่งผลต่อการทำงานของทีมอย่างไรครับ?”
  • “ถ้ามีเครื่องจักรใหม่ที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตได้ 20% จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้มากขึ้นใช่ไหมครับ?”
  • “ถ้าสามารถลดเวลาการซ่อมบำรุงลงได้ คุณคิดว่าจะประหยัดต้นทุนไปได้เท่าไหร่ครับ?”

เป้าหมายของ Need/Payoff Question ในขั้นตอนนี้ เป้าหมายคือการกระตุ้นให้ลูกค้าเห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีหากเขาสามารถแก้ไขปัญหาที่มีได้ คำถามจะมุ่งเน้นไปที่ “ผลลัพธ์เชิงบวก” เช่น การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน หรือประหยัดเวลา โดยให้ลูกค้าเป็นผู้สะท้อนผลลัพธ์ด้วยตัวเอง ซึ่งจะแตกต่างจากการที่เซลล์บอกประโยชน์ของสินค้าให้ลูกค้าฟังโดยตรง

ประโยชน์: ลูกค้าจะเริ่มเห็นคุณค่าของสินค้าและบริการของเรา เมื่อพวกเขาตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับ พวกเขาจะมีแนวโน้มตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น

จุดเด่นของ Need/Payoff Question

  • เปลี่ยนลูกค้าให้เป็นผู้คิดเอง: แทนที่จะบอกลูกค้าว่าสินค้าจะช่วยอะไรได้บ้าง เรากลับใช้คำถามเพื่อให้ลูกค้าเป็นผู้คิดเองว่าถ้าได้วิธีแก้ไขจะเกิดอะไรขึ้น
  • ลดแรงต่อต้านจากลูกค้า: เมื่อลูกค้าคิดเองถึงผลลัพธ์ที่ได้ จะทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ควบคุมการตัดสินใจ ไม่รู้สึกว่ากำลังถูกขายของ
  • ทำให้ลูกค้าตระหนักถึงคุณค่า: ลูกค้าจะเริ่มตระหนักว่า หากไม่รีบแก้ไขปัญหา ผลกระทบจะมีมากขึ้น แต่ถ้ามีทางแก้ไข จะได้ประโยชน์ในแง่ของเวลา ต้นทุน และความสามารถในการผลิต

กระบวนการใช้ Need/Payoff Question อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ทำให้ลูกค้าตระหนักถึงปัญหา: หลังจากที่ลูกค้าได้ตระหนักถึงปัญหาผ่านขั้นตอน Problem Question และ Implication Question แล้ว ให้เชื่อมโยงไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีหากปัญหาถูกแก้ไข
  2. ใช้คำถามกระตุ้นให้ลูกค้าแสดงความต้องการ: ใช้คำถามที่ช่วยให้ลูกค้าเห็นว่าหากปัญหาได้รับการแก้ไข จะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจของพวกเขา ตัวอย่างคำถาม เช่น “ถ้าปัญหานี้ได้รับการแก้ไข กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ครับ?”
  3. ฟังและสะท้อนความคิดของลูกค้า: ฟังคำตอบของลูกค้าอย่างตั้งใจ และสะท้อนคำตอบกลับไปเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าเขาได้รับการรับฟัง เช่น “จากที่ฟังดู ถ้าการผลิตเพิ่มขึ้นได้ 3 เท่า ก็น่าจะช่วยให้ยอดขายเติบโตขึ้นอย่างมากเลยใช่ไหมครับ?”

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย

  • การบอกผลลัพธ์เองแทนที่จะให้ลูกค้าคิดเอง: เซลล์บางคนมักจะบอกลูกค้าตรงๆ ว่าสินค้าของเราจะช่วยเพิ่มผลผลิต 3 เท่าได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด
  • คำถามที่คลุมเครือเกินไป: คำถามที่ไม่เจาะจง เช่น “ถ้าได้โซลูชันนี้ จะดีไหมครับ?” อาจทำให้ลูกค้าตอบสั้นๆ เช่น “ก็ดีครับ” แทนที่จะได้คำตอบที่ลึกซึ้งกว่า
  • การข้ามขั้นตอน SPIN อื่นๆ: หากข้ามขั้นตอน Situation, Problem และ Implication โดยไม่สร้างบริบทและขยายปัญหามาก่อน การใช้ Need/Payoff Question อาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร

สรุป เทคนิค SPIN คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยพนักงานขายในการตั้งคำถามให้กับลูกค้า โดยผ่าน 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ Situation, Problem, Implication และ Need-Payoff การตั้งคำถามอย่างมีเป้าหมายจะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และสามารถนำเสนอสินค้าได้ตรงกับปัญหาของลูกค้า ส่งผลให้การปิดการขายเป็นไปได้ง่ายขึ้น เทคนิคนี้ไม่เพียงทำให้พนักงานขายมีความโดดเด่น แต่ยังเพิ่มความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอีกด้วย Need/Payoff มุ่งเน้นไปที่การช่วยลูกค้าตระหนักถึงผลลัพธ์เชิงบวกที่เขาจะได้รับหากปัญหาถูกแก้ไข วิธีนี้เปรียบเสมือนการโค้ชชิ่งลูกค้าให้คิดเองว่าปัญหาที่แก้ไขได้จะส่งผลดีอย่างไรต่อตนเองและธุรกิจ การทำให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด จะทำให้โอกาสปิดการขายสูงขึ้น และที่สำคัญ คำตอบของลูกค้าจะยืนยันความต้องการของพวกเขาเองโดยไม่ต้องถูกบังคับจากเซลล์ การขายในลักษณะนี้เรียกว่าการขายแบบที่ปรึกษา (Consultative Selling) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในระยะยาว

ทักษะการหา Pain Point เพื่อการปิดการขายด้วยเทคนิค SPIN(คลิป)

5 ปัญหาหลักที่พนักงานขายมือใหม่มักเผชิญ

  1. ไม่รู้จะคุยอะไรกับลูกค้า
    • พนักงานขายหลายคนมักพบว่าไม่รู้จะเริ่มต้นพูดคุยหรือถามอะไรกับลูกค้า ทำให้การสนทนาขาดความต่อเนื่อง ถามซ้ำไปมา และจบลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการ ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินบทสนทนาให้ลึกขึ้นเพื่อหาปัญหาของลูกค้าได้
  2. นัดลูกค้าไม่ได้หรือลูกค้าเลื่อนนัดประจำ
    • เรารู้สึกโดนลูกค้าเลื่อนนัดประจำหรือว่านัดไม่ได้  ทำให้เราไม่ยังทันได้ถามหรือคุยอะไรเลยด้วยซ้ำ ไม่แม้กระทั่งนัดลูกค้าครั้งต่อไปได้ด้วยซ้ำ  โดนเลื่อนนัดประจำ ลูกค้าบอก “ขอคิดดูก่อน” “เดี๋ยวติดต่อกลับ” ไม่จบสักที 
    • บ่อยครั้งที่พนักงานขายพยายามนัดลูกค้าแต่ไม่สำเร็จ หรือลูกค้ามักจะเลื่อนนัดหรือบอกว่า “เดี๋ยวขอคิดดูก่อน” หรือ “ใช้ของเจ้าอื่นอยู่แล้ว” หรือ “ถ้าต้องการเดี๋ยวจะติดต่อมาเอง” ทำให้พนักงานขายไม่สามารถสร้างโอกาสในการสนทนาเชิงลึกเพื่อค้นหาปัญหาของลูกค้าได้
  3. ไม่รู้จุดเจ็บปวด (Pain Point) ของลูกค้า
    • การไม่เข้าใจปัญหาของลูกค้าทำให้การนำเสนอสินค้าไม่ตรงใจลูกค้า บ่อยครั้งลูกค้าจะบอกว่า “ขอคิดดูก่อน” เพราะสิ่งที่พนักงานขายนำเสนอไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาของลูกค้าโดยตรง ส่งผลให้ปิดการขายไม่ได้
  4. ขาดความมั่นใจ กลัวถามผิด และขายแบบไม่มีระบบ
    • พนักงานขายมือใหม่มักขาดความมั่นใจ เพราะกลัวจะถามผิดหรือกลัวทำให้ลูกค้าไม่พอใจ ส่งผลให้เกิดความกังวลทุกครั้งที่ต้องพบกับลูกค้า การขายจึงไม่มีระบบหรือโครงสร้างที่ชัดเจน และเมื่อล้มเหลวก็ไม่รู้ว่าสาเหตุมาจากอะไร
  5. โดนต่อราคาทุกงานจนแทบไม่เหลือกำไร
    • ลูกค้ามักต่อรองราคาและเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ส่งผลให้พนักงานขายต้องลดราคาจนแทบไม่เหลือกำไร เพราะพนักงานขายไม่สามารถชี้ให้ลูกค้าเห็นถึงคุณค่าที่แตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างชัดเจน
การพัฒนาแนวคิดและทักษะการขายแบบ SPIN
  1. เปลี่ยนมุมมองการขาย
    • ก่อนการขาย ทุกครั้งที่ยกหูโทรศัพท์หรือจะไปพบลูกค้า ให้เปลี่ยนแนวคิดจาก “ต้องขายสินค้า” เป็น “เข้าไปช่วยลูกค้าแก้ปัญหา” อย่าคิดเพียงว่า “ต้องปิดการขายให้ได้” แต่ให้คิดว่า “ฉันจะช่วยให้ลูกค้าแก้ปัญหาได้อย่างไร” การมีจิตใจที่มุ่งช่วยเหลือลูกค้าจะทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจมากขึ้น
  2. การสร้างความน่าเชื่อถือและความสัมพันธ์
    • ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อก็ต่อเมื่อเขา “ชอบเรา” และ “เชื่อเรา” ดังนั้น พนักงานขายต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเป็นมิตร โดยเริ่มจากการยิ้ม แสดงออกถึงการให้เกียรติ และเปิดใจที่จะฟังลูกค้า พนักงานขายต้องมีความรู้ในสิ่งที่ตนเองขาย แม้จะไม่ต้องรู้ลึกเท่าผู้เชี่ยวชาญ เช่น โปรแกรมเมอร์ แต่ต้องเข้าใจว่าสินค้าของเราสามารถแก้ปัญหาอะไรได้และแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร
  3. ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการขาย SPIN
    • การขายแบบ SPIN ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่
      1. S (Situation) – ถามเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของลูกค้าเพื่อให้เข้าใจบริบท
      2. P (Problem) – ค้นหาปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่
      3. I (Implication) – ซักถามเพื่อขยายความรุนแรงของปัญหา เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากไม่แก้ไข
      4. N (Need-Payoff) – ช่วยลูกค้าตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับหากแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ซึ่งจะช่วยสร้างความต้องการซื้อ
  4. เข้าใจโครงสร้างพีระมิดการขาย
    • การขายเปรียบเสมือนพีระมิด โดยมีฐานเป็น “การสร้างสายสัมพันธ์” และ “การสร้างความน่าเชื่อถือ” หากพนักงานขายไม่สามารถผ่านสองขั้นตอนนี้ได้ กระบวนการที่เหลือจะล้มเหลวทันที เมื่อพนักงานขายสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการ ค้นหาปัญหา (Pain Point) โดยใช้เทคนิค SPIN และเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียด จากนั้นจึงค่อยนำเสนอสินค้าให้ตรงกับปัญหาที่ลูกค้าต้องการแก้ไข ขั้นตอนสุดท้าย ปิดการขาย
  5. การปิดการขายโดยไม่ต้องปิดการขาย
    • การปิดการขายแบบ SPIN จะไม่เหมือนการปิดการขายทั่วไป เพราะหากทำทุกขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง ลูกค้าจะรู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่นำเสนอ และตัดสินใจซื้อเองโดยไม่ต้องพยายามปิดการขายอย่างหนักหน่วง หากลูกค้ายังไม่เห็นคุณค่าในสินค้า ก็อาจยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะปิดการขายในครั้งนั้น

Spin

บทสรุป

 SPIN เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กัน เพราะไม่ใช่แค่การขาย แต่คือการช่วยลูกค้าแก้ปัญหา แนวคิดการขายเป็นการช่วยเหลือคน ช่วยให้เ Sales เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อลูกค้า และจะทำให้ลูกค้าเปิดใจมากขึ้น ความสำเร็จในกระบวนการขายจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างความน่าเชื่อถือ ค้นหาและเข้าใจปัญหาของลูกค้า และนำเสนอแนวทางแก้ไขที่ตรงจุด ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถบรรลุได้ผ่านกระบวนการ SPIN Selling หากพนักงานขายฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถปิดการขายได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องพยายามขายเลยแม้แต่น้อย

เทคนิค SPIN Selling: เปลี่ยนโลกการขายด้วย 4 ขั้นตอน(คลิป)

ในปี 1976 นีล แร็คแฮม (Neil Rackham) ได้ตั้งคำถามที่เปลี่ยนโลกแห่งการขายไปตลอดกาล คำถามนั้นคือ: “อะไรที่ทำให้พนักงานขายที่เก่งแตกต่างจากพนักงานขายทั่วไป?” คำตอบที่เขาค้นพบคือ นักขายที่ประสบความสำเร็จจะพูดเพียง 10% ของการสนทนา และปล่อยให้ลูกค้าพูดถึง 90%

นี่คือแนวคิดที่เป็นรากฐานของเทคนิค SPIN Selling ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ ที่จะช่วยให้พนักงานขายเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ค้นพบปัญหาที่ซ่อนอยู่ และทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

🔥 5 หลักการสำคัญของนักขายที่เก่ง

  1. การเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง
    • นักขายที่เก่งจะปล่อยให้ลูกค้าพูดถึง 90% ของเวลาในระหว่างการสนทนา
    • ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าพูดถึงปัญหา ความต้องการ และความรู้สึกของเขา
    • การฟังอย่างตั้งใจจะทำให้นักขายเข้าใจถึง “Pain Point” ของลูกค้า ซึ่งบางครั้งแม้แต่ลูกค้าเองก็ยังไม่รู้ตัว
  2. การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบ
    • นักขายจะช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากไม่แก้ไขปัญหาที่พบ
    • คำถามที่ถามจะเน้นให้ลูกค้าไตร่ตรอง เช่น “ถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง?”
    • เมื่อปัญหาถูกขยายความให้ชัดเจน ลูกค้าจะรับรู้ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา
  3. การสร้างความเชื่อมั่นและสายสัมพันธ์(rapport)ที่ดีกับลูกค้า
    • นักขายที่เก่งจะให้ความสำคัญกับการรับฟังมากกว่าการพูด
    • เปรียบเทียบง่าย ๆ ถ้าคุณอยู่ในงานปาร์ตี้ มีเพื่อน 2 คน คนแรกพูดแต่เรื่องของตัวเอง ส่วนคนที่ 2 ถามถึงคุณ สนใจคุณ คุณจะชอบคุยกับใครมากกว่ากัน?
    • ลูกค้าก็เช่นกัน หากรู้สึกว่า “พนักงานคนนี้สนใจฉันจริง ๆ” จะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นโดยอัตโนมัติ
  4. การเสนอคุณค่าและผลประโยชน์ที่ชัดเจน
    • เมื่อเข้าใจ Pain Point ของลูกค้าแล้ว การนำเสนอก็ไม่จำเป็นต้องพูดเยอะ
    • นักขายเพียงแค่แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการจะแก้ปัญหาที่พวกเขาพบได้อย่างไร
  5. การลดแรงต้านจากลูกค้า
    • อย่าเร่งรีบนำเสนอสินค้าทันที ให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายและสบายใจ
    • ลูกค้าจะรู้สึกว่า “คนนี้แค่อยากเข้าใจฉัน” ไม่ใช่ “คนนี้กำลังจะขายของให้ฉัน”
    • เมื่อลูกค้ารู้สึกสบายใจที่จะพูด แรงต้านก็จะลดลงไปโดยธรรมชาติ

🔥 4 ขั้นตอนของเทคนิค SPIN Selling

  1. Situation Questions (คำถามเกี่ยวกับสถานการณ์)
    • จุดประสงค์: เพื่อเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของลูกค้า
    • ตัวอย่าง: “ปัจจุบันคุณใช้ระบบอะไรอยู่?”, “คุณเจอปัญหาอะไรบ้างในกระบวนการนี้?”
  2. Problem Questions (คำถามเกี่ยวกับปัญหา)
    • จุดประสงค์: เพื่อค้นหาปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่
    • ตัวอย่าง: “ปัญหาอะไรที่คุณคิดว่ารบกวนการทำงานของคุณมากที่สุด?”, “อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้คุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้?”
  3. Implication Questions (คำถามเกี่ยวกับผลกระทบ)
    • จุดประสงค์: เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นถ้าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข
    • ตัวอย่าง: “ถ้าปัญหานี้ยังคงอยู่ คุณคิดว่าจะส่งผลกระทบอะไรกับธุรกิจของคุณในระยะยาว?”, “คุณเคยคิดไหมว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาจากปัญหานี้เท่าไหร่?”
  4. Need-Payoff Questions (คำถามเกี่ยวกับผลประโยชน์)
    • จุดประสงค์: เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นหากพวกเขาแก้ไขปัญหา
    • ตัวอย่าง: “ถ้าคุณสามารถลดระยะเวลาการทำงานได้ 50% คุณจะนำเวลาไปใช้ทำอะไรเพิ่มได้บ้าง?”, “คุณคิดว่าจะดีแค่ไหนถ้าคุณสามารถลดต้นทุนได้ครึ่งหนึ่งในปีนี้?”

🔥 เคล็ดลับจำง่าย

  • เรื่อง – ร้าย – แรง – รัก
    • เรื่อง: รู้สถานการณ์ของลูกค้า (Situation)
    • ร้าย: รู้ปัญหาของลูกค้า (Problem)
    • แรง: กระตุ้นให้ลูกค้าตระหนักถึงผลกระทบ (Implication)
    • รัก: ทำให้ลูกค้าเห็นสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้น (Need-Payoff)

🔥 ทำไม SPIN Selling ถึงได้ผล?

  • การฟังลูกค้าถึง 90% ช่วยให้เรารู้ข้อมูลที่ลึกซึ้งกว่าคู่แข่ง
  • ลูกค้ารู้สึกว่า “พนักงานคนนี้เป็นพวกเดียวกับฉัน” ทำให้เกิดความไว้วางใจ
  • กระบวนการ SPIN ทั้ง 4 ขั้นตอนช่วยให้ลูกค้า “ตกผลึก” กับปัญหาและผลกระทบ และเกิดความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง

🔥 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย

  • เร่งขายเร็วเกินไป: ลูกค้ายังไม่เห็นปัญหาหรือตระหนักถึงผลกระทบ นักขายก็รีบนำเสนอสินค้าแล้ว
  • พูดมากกว่าฟัง: นักขายที่เก่งต้องพูดน้อย แต่ฟังให้เยอะ
  • ไม่เจาะลึกพอ: ถามแค่ผิวเผิน ลูกค้าก็จะยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบ

การใช้เทคนิค SPIN Selling ไม่เพียงแต่จะช่วยให้นักขายปิดการขายได้มากขึ้น แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนกับลูกค้าอีกด้วย การเป็นนักขายที่ดีไม่ใช่การพูดเก่ง แต่เป็นการฟังเก่ง ใช้คำถามให้ถูกต้อง และช่วยให้ลูกค้า “ตกผลึก” กับปัญหาของตนเองได้

Spin

สอบถามปัญหา
ส่งข้อความสอบถามด้านล่าง

ที่อยู่ :

139 ม.5 ต.นาโพธิ์ อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม 44130
Tel: 094-952-9562 Line id: 9562opad