สถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  • สถานตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ทุกประเภทและทุกขนาดน้ำหนัก
  • สถานตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม และรถจักรยานยนต์
  • สถานตรวจสภาพรถจักรยานยนต์
การตรวจสภาพรถ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความพร้อมและความปลอดภัยของการใช้รถ ว่าอยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้งานหรือไม่ รวมถึงการตรวจลดมลภาวะ (ควันดำ) อันเกิดจากรถด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ต้องนั่งไปกับรถคันนั้นๆ
ในกรณีที่ตรวจสภาพรถไม่ผ่าน ต้องนำรถกลับไปแก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงกลับมาตรวจสภาพใหม่ และหากนำรถกลับมาตรวจสภาพใหม่อีกครั้งไม่เกิน 15 วัน จะคิดค่าตรวจสภาพรถครึ่งหนึ่งของราคาค่าตรวจสภาพตามปกติ (100 บาท) แต่หากนำรถมาตรวจสภาพใหม่เกินจาก 15 วันขึ้นไป ก็จะคิดค่าตรวจสภาพเท่ากับราคาปกติ (200 บาท)

สิ่งที่ต้องตรวจ (ย่อ)

  • การตรวจวัดเสียง ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล(A) จักรยานยนต์ ต้องไม่เกิน 95 เดซิเบล(A)
  • รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยระบบกระดาษกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบวัดความทึบแสงต้องไม่เกิน 45%
  • ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางเบี่ยงเบนของลำแสง และตรวจวัดค่าความเข้มของแสง
  • ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ เช่น แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์
  • ตรวจสภาพตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อุปกรณ์ไฟฟ้า พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
  • ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบเบรก ระบบเชื้อเพลิง ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
  • ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
  • ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์เครื่่องยนต์เบนซิน หรือ สลับ LPG หรือ CNG

ประเภทของรถที่เข้าข่ายเข้ารับการตรวจสภาพรถ (ตรอ.)

1. รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
  • รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก
  • รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ เว้นแต่รถที่ใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย และรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง ที่ติดตั้งถังบรรทุกวัสดุอันตราย
2. รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
  • รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก ได้แก่
    • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
    • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
    • รถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กก. (รย.3) ยกเว้นรถที่ได้รับความเห็นชอบการจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (รย.12) ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก
3. รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่ค้างชำระภาษีประจำปีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี
การรายงานผลการตรวจสภาพรถ รถที่ผ่านการตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่จะจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบก โดย ตรอ.จะจัดเก็บเอกสารส่วนที่ 1 และมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้กับผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยถือเป็นใบรับรองการตรวจสภาพและให้มีอายุ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผ่านการตรวจสภาพรถ กรณีไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการตรวจสภาพและข้อบกพร่องให้ผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพรับทราบ พร้อมทั้งมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้เจ้าของรถเพื่อให้เป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถอีกครั้งภายหลังจากแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว โดยมีรายละเอียดการตรวจสภาพรถใหม่ ดังนี้
  • กรณีตรวจสภาพรถใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจเฉพาะรายการข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
  • กรณีตรวจสภาพรถใหม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ

ค่าบริการการตรวจสภาพรถ

  • รถจักรยานยนต์ ค่าบริการ 60 บาท/คัน
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กก. ค่าบริการ 200 บาท/คัน
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กก. ค่าบริการ 300 บาท/คัน
1.ขับรถวิ่งในแนวตรง ผ่านเครื่่องทดสอบ ด้วยความเร็วประมาณ 3-5 กม./ชม.
2. ขณะล้อหน้าผ่านเครื่องทดสอบ ประคองพวงมาลัยหรือปล่อยมือจากพวงมาลัย

วิธีการทดสอบห้ามล้อ(เบรค)

ประสิทธิภาพห้ามล้อ

ห้ามล้อมือ

ห้ามล้อเท้า

ผลต่างของแรงห้ามล้อ

แรงห้ามล้อทุกล้อรวมกันต้อง แรงห้ามล้อทุกล้อรวมกันต้อง ผลต่างของแรงห้ามล้อเท้าด้านขวาและด้านซ้าย

ไม่น้อยกว่า 20%

ไม่น้อยกว่า 50%

ต้องไม่เกิน 25%

ของน้ำหนัรถ ของน้ำหนักรถ ของแรงห้ามล้อสูงสุดในเพลานั้น
การตรวจพินิจภายนอกรถ
  • โคมไฟพุ่งไกล,โคมไฟพุ่งต่ำ โคมไฟเลี้ยว
  • กันชน กงล้อและยาง
  • โคมไฟหรี่ โคมไฟท้าย โคมไฟหยุด
  • บังโคลน สี
  • โคมไฟถอย โคมไฟส่องป้าย
  • โครงสร้างและตัวถัง ประตู
  • โคมไฟแสดงความกว้าง,ความสูง,ไฟอื่นๆ
  • กระจกเงาสำหรับมองหลัง
  • อุปกรณ์สะท้อนแสง
  • กระจกกันลมหน้าและส่วนประกอบของส่วนตัวถังที่เป็นกระจก ฯลฯ
การตรวจพินิจภายในรถ
  • ระบบสตาร์ท
  • ระบบบังคับเลี้ยว,พวงมาลัย
  • อุปกรณ์ปัดและฉีดทำความสะอาดกระจกกันลมหน้า
  • กระจกกันลมหน้า-หลัง
  • กระจกเงาสำหรับมองหลัง
  • ที่นั่งผู้ขับ,ที่นั่งผู้โดยสาร
  • เข็มขัดนิรภัย
  • สวิทซ์ควบคุมไฟสัญญาณ,แตรสัญญาญ
การตรวจพินิจใต้ท้องรถ
  • ระบบส่งกำลัง,คลัทซ์,เกียร์,เพลากลาง,เฟืองท้าย,ระบบไอเสีย,เครื่องระงับเสียง
  • แท่นเครื่อง,ยางแท่นเครื่อง,อุปกรณ์ขจัดมลพิษ Catalytic Conveter
  • ระบบเชื้อเพลิง,ท่อส่งเชื้อเพลิง,ท่อส่งก๊าซ ฯลฯ
  • ระบบบังคับเลี้ยวและกลไกบังคับเลี้ยว
  • ระบบรองรับน้ำหนัก,สปริงแหนบม,โช๊คอัพ
  • เพลาล้อ,กรงล้อและยาง
  • อุปกรณ์ระบบห้ามล้อ
  • โครงสร้างตัวถัง,โครงคัสซี

1. ปรับเครื่องวัดให้ถูกต้อง 1.1 ปรับวงจรถ่งน้ำหนักไปที่ A 1.2 ปรับลักษณะความไวตอบรับเสียงไปที่ Fast
2. เดินเครื่องยนต์ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งาน และปิดเครื่องปรับอากาศ
3. วางไมโครโฟนสูงเท่ากับความสูงของปลายท่อไอเสีย แต่ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 0.2 เมตร ห่างจากปลายท่อไอเสีย 0.5 เมตร
แกนไมโครโฟนขนานกับพื้น และทำมุม 45 องศากับปลายท่อไอเสีย
4. ทำการวัด 2 ครั้ง ใช้ค่าที่วัดได้สูงสุดเป็นเกณฑ์ตัดสิน และค่าแตกต่างกันไม่เกิน 2 เดซิเบล เอ
5. กรณีค่าระดับเสียงจากการตรวจวัดทั้ง 2 ครั้ง แตกต่างกันเกิน 2 เดซิเบลเอ ให้ทำการวัดใหม่

รถยนต์ 

ค่าระดับเสียง สูงสุดไม่เกิน 100 dBA รถที่จดทะเบียนก่อนปี 2557 ระดับเสียงสูงสุดไม่เกิน 95 dBA
1.ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ดีเซล ให้เร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่ง
2. ถ้าเป็นเครื่องยนต์เบนซินให้เร่งเครื่องยนต์จนมีความเร็วรอบสามในสี่ของรอบที่ให้กำลังม้าสูงสุดจนกระทั่งเครื่องยนต์ทำงานด้วยความเร็วรอบคงที่

รถจักรยานยนต์

ค่าระดับเสียง สูงสุดไม่เกิน 95 dBA
1.เครื่องยนต์ที่มีรอบให้กำลังม้าสูงสุดไม่เกิน 5,000 รอบต่อนาทีให้เร่งเครื่องยนต์จนมีความเร็วรอบสามในสี่ของรอบที่ให้กำลังม้าสูงสุด
จนกระทั่งเครื่องยนต์ทำงานด้วยความเร็วรอบคงที่
2. เครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบให้กำลังม้าสูงสุดเกิน 5,000 รอบต่อนาทีให้เร่งเครื่องยนต์
จนมีความเร็วรอบครึ่งหนี่งของรอบที่ให้กำลังม้าสูงสุด
จนกระทั่งเครื่องยนต์ทำงานด้วยความเร็วรอบคงที่

กระดาษกรอง(Filter) ค่าควันดำไม่เกิน 50%
ระบบวัดความทึบแสง(Opacity) ค่าควันดำไม่เกิน 45%
1. ทำความสะอาเครื่องวัดและทำการปรับเครื่องวัดให้พร้อมใช้งาน
2. จอดรถในตำแหนงเกียร์ว่าง ปิดเครื่องปรับอากาศและระบบท่อไอเสีย(ถ้ามี)
3. เดินเครื่องยนต์ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งาน
4.ทดสอบเหยียบคันเร่งอย่างช้าๆ จนสุดคันเร่ง ถ้าพบอาการผิดปกติให้หยุดการตรวจวัด
5. สอดหัววัดเข้าในท่อไอเสีย
6. เร่งเครื่องยนต์อย่างเร็วจนสุดคันเร่งและเก็บค่าควันดำ
7. ทำการวัด 2 ครั้งใช้ค่าที่วัดได้สูงสุด
8. กรณีค่าควันดำที่วัด 2 ครั้งแตกต่างกันเกินร้อยละ 5 ให้ทำการวัดใหม่

วิธีการตรวจวัด

  1. ทำความสะอาดเครื่องวัดและทำการปรับเครื่องวัดให้พร้อม
  2. จอดรถอยู่กับที่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเดินเครื่องยนต์ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งานและปิดเครื่องปรับอากาศ
  3. ขณะเครื่องยนต์เดินเบาสอดหัววัดเข้าไปในท่อไอเสียให้ลึกสุด
  4. อ่านค่าก๊าซ COและHC เมื่อเครื่องวัดแสดงค่าผลคงที่
  5. ทำการวัด 2 ครั้งแล้วนำค่าที่วัดได้ 2 ครั้ง นั้นมาหาค่าเฉลี่ยเป็นเกณฑ์
วิธีการตรวจวัดโคมไฟหน้า
1.รถที่นำเข้าตรวจควรเป็นรถเปล่าไม่มีสิงของบรรทุก
2. จอดรถบนทางพื้นราบในตำแหน่งที่กำหนด
3.ปรับเครื่่องทดสอบให้ขนานกับหน้ารถ
4. เลื่อนเครื่่องทดสอบให้อยู่ในแนวตรงกับหน้าโคมไฟหน้า
5. วัดระยะห่างระหว่างโคมไฟหน้าและเครื่องทดสอบ (25-50 ซม.) วัดความสูงจากพื้นถึงจุดกึ่งกลางโคมไฟหน้าและเครื่องทดสอบ
6.ตรวจวัดโคมไฟแสงพุ่งไกลและแสงพุ่งต่ำ
โคมไฟแสงพุ่งไกล
  • แสงสีขาว หรือ เหลืองอ่อน
  • จำนวน 2 ดวงหรือ 4 ดวงสูงมากว่า 40 cm. ไม่เกิน 1.35 m.
  • ลำแสงต้องไม่สูงเกินกว่าแนวระนาบและไม่เบี่ยงเบนไปทางขวา
  • ความเข้มของโคมไฟแต่ละดวงไม่น้อยกว่า 12,000 cd และทุกดวงรวมกันเกินกว่า 430,000 cd
โคมไฟแสงพุ่งต่ำ
  • แสงสีขาว หรือ เหลืองอ่อน
  • จำนวน 2 ดวงหรือ 4 ดวงสูงมากว่า 40 cm. ไม่เกิน 1.35 m.
  • มุมกดจากแนวระนาบระหว่างร้อยละ 0.5 (0.29 องศา) ถึงร้อยละ 4 (2.29 องศา และไม่เบี่ยงเบนไปทางขวา
  • ความเข้มแสงส่องสว่างของโคมไฟแต่ละดวงไม่น้อยกว่า 6,400 cd